วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Outsourcing


คือ การไปทำสัญญาต่อสำหรับกระบวนการทำงาน เช่น การออกสินค้า หรือการผลิตสินค้า เป็นต้น กับกิจการอื่น ซึ่งการตัดสินใจที่จะมอบหมายภารกิจขององค์กรให้ผู้อื่นดำเนินการแทนจะเกิด ขึ้น เมื่อองค์กรธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ไม่พร้อมที่จะใช้ทรัพยากรภายในที่มีอยู่ทำงานนั้นด้วยตนเอง การจ้างให้คนอื่นทำงานแทนมักจะมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน
               1. เพื่อประหยัดต้นทุน (Cost Savings) โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายทางด้านแรงงานที่มีความแตกต่างกันระหว่างประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งช่วยปรับโครงสร้างต้นทุน (Cost Restructuring) จากต้นทุนคงที่ไปยังต้นทุนผันแปรมากขึ้น และยังทำให้ต้นทุนผันแปรสามารถคาดการณ์ได้ง่ายขึ้น
               2.ช่วยให้องค์กรสามารถเน้นกิจกรรมไปยังธุรกิจหลัก (FocusonCore Business) ภายใต้ข้อจำกัดของทรัพยากรที่มีอยู่ องค์กรสามารถมุ่งทำในสิ่งที่เป็นธุรกิจหลัก และมีข้อได้เปรียบทางการแข่งขันได้มากขึ้น
3.  สร้างองค์ความรู้ให้แก่องค์กรมากขึ้น (Knowledge) จากการเข้าหาประสบการณ์ ความรู้ และทรัพย์สินทางปัญญาจากแหล่งต่างๆ ได้กว้างขวางขึ้น
4.   การปฎิบัติตามสัญญาอย่างเคร่งครัด (Contracts) ถ้าการปฎิบัติงานไม่เป็นไปตามสัญญา องค์กรสามารถปรับเป็นตัวเงิน และฟ้องร้องทางกฎหมายได้ ซึ่งอาจทำได้ยากในกระบวนการทำงานภายใน
5.   ได้รับบริการจากผู้ที่มีความชำนาญในการดำเนินงาน (Operational Expertise) ซึ่งบางครั้งยากที่จะสร้างขึ้นมาได้เองในระยะเวลาอันสั้นภายในองค์กร โดยเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
6.    ลดความเสี่ยงทางธุรกิจ (Risk Management) ที่ไม่ต้องรับภาระทั้งหมด ถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิด หรือช่วยในเรื่องของการบริหารกำลังการผลิต (Capacity Management) ที่มักจะเกิดจากวัฎจักรธุรกิจที่มีช่วงขาขึ้นและขาลง
7.   เป็นตัวกระตุ้นสำหรับการเปลี่ยนแปลง (Catalyst for Change) องค์กรสามารถใช้ข้อตกลงที่ทำกับผู้รับทำงานแทนเป็นเครื่องมือสำหรับการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการทำงานที่ไม่สามารถทำได้โดยลำพัง
8.   สามารถใช้ประโยชน์จากเวลาที่ต่างกัน (Leveraging Time Zones) ใน กรณีของผู้ที่รับทำงานแทนอยู่คนละประเทศ ซึ่งช่วยให้การทำงานสามารถทำได้ในระยะเวลานานขึ้น บางครั้งอาจนานตลอด 24 ชั่วโมง เพิ่มประสิทธิภาพของทั้งการให้บริการ และการตลาด ที่จัดส่งของได้ทันตามความต้องการของลูกค้า

ข้อดีและข้อเสียของ Outsourcing
          
การจะเลือกวิธี Outsourcing มาใช้หรือไม่นั้น สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ ต้อง แยกให้ออกและชัดเจนว่า กิจกรรมส่วนใดเป็นกิจกรรมหลักขององค์กร และกิจกรรมส่วนใดเป็นกิจกรรมเสริม ไม่เช่นนั้นแล้ว ปัญหาตางๆ จะเกิดขึ้นตามมาอีกมากมาย โดยเฉพาะงานด้านบริการ ต้องวิเคราะห์ต้นทุนให้มีความชัดเจนระหว่างการทำเองกับการจ้างทำว่า วิธีการใดจะถูกกว่ากัน การเลือกบริษัทที่จะจ้าง ก็ต้องเป็นบริษัทที่น่าเชื่อถือ และเคยมีผลงานปรากฎเด่นชัด และที่สำคัญ จะต้องคำนึงถึงผลกระทบกระบวนการสายโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain) ขององค์กรในการส่งมอบคุณค่าแก่ลูกค้า ทั้งนี้ เนื่องจากวิธี Outsourcing จะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย (สิทธิชัย ฝรั่งทอง กรุงเทพธุรกิจ 24 กุมภาพันธ์ 2548
ข้อดี
1. ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายขององค์กร ทำให้กระแสเงินหมุนเวียนในองค์กรมีสภาพคล่องตัวมากยิ่งขึ้น

2. ช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน อันเนื่องมาจากการดำเนินงานต่างๆ จะเกิดความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และมีประสิทธิภาพสูง

3. ช่วย ให้พนักงานมีโอกาสใช้ศักยภาพของตนเองได้เต็มที่ เนื่องจากจะมีการสับเปลี่ยน โยกย้ายพนักงานจากส่วนเดิม ไปในส่วนงานใหม่ ทำให้พนักงานเกิดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่องาน

4. สามารถควบคุมต้นทุนการดำเนินงานให้ต่ำลง และขจัดต้นทุนที่จะก่อให้เกิดความล้มเหลวในเบื้องต้นได้

5. องค์กรสามารถขยายธุรกิจด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ ก่อให้เกิด Business line เพิ่มขึ้น และสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ขององค์กร

6. ช่วยให้องค์กรสามารถผลักภาระการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีต่างๆ ให้กับบริษัทว่าจ้างได้

ข้อเสีย
1.ประสิทธิภาพการทำงานของบริษัทที่ Outsourcing มักจะมีการเปลี่ยนทีมทำงานบ่อย อาจทำให้ขาดทักษะความชำนาญต่อเนื่องในระบบการดำเนินงานของผู้ว่าจ้าง

2. ความ รู้สึกผูกพัน และความรับผิดชอบต่อองค์กรของพนักงานที่ว่าจ้างเข้ามามีน้อย เนื่องจาก ลักษณะงานเป็นการทำสัญญาว่าจ้างระยะสั้น ทำให้พนักงานบางส่วนไม่รู้สึกว่าถูกจูงใจต่อการทำงาน

3. เกิด ช่องว่างความขัดแย้งในการทำงานร่วมกันระหว่างพนักงานขององค์กรกับพนักงานที่ ว่าจ้างเข้ามา ซึ่งจะส่งผลเสียต่อลูกค้าและผู้มาติดต่อกับองค์กร

4. มี ความเป็นไปได้ที่บริษัทที่องค์กรจ้างเข้ามา มีกระบวนการสรรหา คัดเลือก บุคลากรที่ไม่มีประสิทธิภาพดีพอ ทำให้คุณภาพของบุคลากรต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้

5. หาก พิจารณาไม่ชัดเจนระหว่างกิจกรรมหลักและกิจกรรมเสริมขององค์กร จะทำให้องค์กรเสียความสามารถในการแข่งขัน และกลายเป็นจุดอ่อนระยะยาวสำหรับองค์กร 



แหล่งที่มา http://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?

JIT

 

ในภาษาโปรแกรม Java และสภาพแวดล้อม just-in-time(JIT)compiler โปรแกรมที่เปลี่ยกลับ bytecode ของ Java ให้เป็นคำสั่งที่สามารถส่งตรงไปที่โพรเซสเซอร์ หลังจากการเขียนโปรแกรม ภาษา Java คำสั่งต้นแบบจะได้รับคอมไพล์ โดย Java compiler เป็น bytecode แทนที่จะเป็นรหัสที่เก็บคำสั่งที่ตรงกันแพล็ตฟอร์มของโพรเซสเซอร์ (เช่น Intel Pentium, IBM System /390) bytecode เป็นรหัสที่ไม่ขึ้นกับแพล็ตฟอร์มที่สามารถส่งไปยังแพล็ตฟอร์มต่าง ๆ และทำงานบนแพล็ตฟอร์ม นั้น ในอดีตโปรแกรมส่วนมาก เขียนในภาษาต่าง ๆ จะต้องมีการคอมไพล์ซ้ำ และบางครั้งต้องเขียนใหม่ สำหรับแต่ละแพล็ตฟอร์ม ข้อได้เปรียบอย่างมากของ Java คือสามารถเขียนและคอมไพล์เพียงครั้งเดียว Java ในแต่ละแพล็ตฟอร์มจะแปล bytecode เป็นคำสั่งที่เข้าใจได้ของโพรเซสเซอร์ อย่างไรก็ตาม virtualmachine ดูแล 1 คำสั่ง bytecode ในแต่ละครั้ง การใช้ just-in-time compiler ของ Java ที่แพล็ตฟอร์มเฉพาะคอมไพล์ bytecode เป็นรหัสของระบบนั้น เมื่อรหัสได้รับคอมไพล์โดย JIT compiler จะทำงานได้เร็วในคอมพิวเตอร์Just-in-time compiler มาพร้อมกับ virtual machine และใช้แบบตัวเลือก JIT compiler จะคอมไพล์ bytecode เป็นรหัส เฉพาะตามแพล็ตฟอร์ม ซึ่งจะประมวลผลทันที Sun Microsystems แนะนำให้เลือก JIT compiler จะทำให้ทำงานเร็วขึ้น โดยเฉพาเมธอด มีการใช้ซ้ำ










EDI


การแลกเปลี่ยนใบสั่งซื้อโดยใช้ EDI แทนกระดาษ ช่วยลดขั้นตอนในการแลกเปลี่ยนเอกสารด้วยกระดาษลง และสะดวกขึ้นดังต่อไปนี้
1.ลูกค้าดูข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตเพื่อดูรายละเอียดสินค้า และทำการสั่งสินค้าแบบออนไลน์โดยจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิตการ์ด
2.ซอฟต์แวร์ EDI ทำหน้าที่แปลงข้อมูลในระบบจัดซื้อให้เป็น EDI ที่มีรูปแบบตามมาตรฐานกลาง แล้วส่งไปที่เมล์บ็อกซ์ของผู้ขายในเวลาไม่กี่นาที
3.Pick-up ผู้ขายใช้ซอฟต์แวร์ EDI ดึงข้อมูลจากเมล์บ็อกซ์แล้วแปลงให้อยู่ในรูปแบบของระบบจัดซื้อ แล้วทำการส่งสินค้าแก่ลูกค้า
4.ลูกค้าได้รับสินค้าภายใน 2-3 วันจากระบบเดิมที่ใช้เวลานานกว่าและมีโอกาสผิดพลาดได้มากกว่าอันเกิดจากบุคคลที่ปฏิบัติงาน การนำ EDI มาใช้เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์โดยตรง เป็นการช่วยลดเวลาและความผิดพลาดจากการกรอกข้อมูลและช่วยประหยัดกระดาษด้วย


ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้EDI
สรุปได้ดังนี้
1.เป็นการปรับปรุงความสามารถเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น
2.เป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรที่เราเลือกเฟ้นแล้วในห่วงโซ่อุปทาน
3.เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานในองค์กรคือลดความผิดพลาดจากการกรอกข้อมูลของบุคลากร ทำให้ข้อมูลมีประสิทธิภาพมากขึ้น และบุคลากรใช้เวลาในการปฏิบัติงานอื่นที่เพิ่มมูลค่าแก่องค์กรได้มากขึ้น
4.เพิ่มความสามารถในการแข่งขันขององค์กรคือเกิดประสิทธิภาพด้านเวลาในการปฏิบัติงาน
5.ลดต้นทุนจากการปฏิบัติงาน คือลดค่าใช้จ่ายจากการใช้กระดาษ และลดการทำงานของบุคลากรมาทำให้สามารถใช้เวลาในการปฏิบัติงานอื่นที่เพิ่มมูลค่าแก่องค์กรได้มากขึ้นหรือไปทำงานที่มีความสำคัญต่อนโยบายขององค์กรแทน


ขั้นตอนการทำงานกับ EDI






ที่มา:https://www.google.com/searchum=1&hl=th&q=CRM%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3&bav=on.2,or.r_gc.r_pw.r_cp.r_qf.&biw=1366&bih=587&wrapid=tlif134506911035711&ie=UTF8&sa=N&tab=iw&ei=OiAsUP2NB5CurAf5hIHYCg#hl=th&q=edi+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD+%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8A3&revid=693503087&sa=X&ei=MyEsUJOLINGqrAeD3oC4Cg&ved=0CHkQ1QIoAA&bav=on.2,or.r_gc.r_pw.r_cp.r_qf.&fp=dd4084ac040dbde4&biw=1366&bih=587

HRM





ในยุคปัจจุบันเรามักได้ยินคนพูดถึงคำว่า  HRM   กับ  HRD  อยู่บ่อยครั้ง  ทำให้ดิฉันเกิดความสงสัยว่า  คำสองคำนี้หมายถึงอะไร  แตกต่างกันอย่างไร  มีความสำคัญอย่างไร   และเกี่ยวข้องอะไรกับเราบ้าง    จึงได้ลองศึกษาหาข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ  พอสรุปได้ดังนี้
คำว่า  HRM  ย่อมาจากคำว่า  Human  Resource  Management   หมายถึง  การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในสถานประกอบการ  เป็นเรื่องเกี่ยวกับการวางแผน  การกำหนดคุณลักษณะ  และคุณสมบัติของประชากร  เริ่มตั้งแต่เกิดจนตาย  หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ  องค์การต้องดูแลรักษา  ใช้งาน  และให้ประโยชน์แก่ทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย  คือก่อนเข้าทำงาน  และหลังพ้นจากงาน  เป็นภารกิจขององค์การนั่นเอง

หน้าที่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์  ( HRM )   ในสถานประกอบการ    มีดังนี้
                1.  กำหนดกลยุทธ์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์   ( HRM  Strategy )
                2.  วางแผนเกี่ยวกับกำลังคน หรือ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์   ( HR Plainning )
                3.  สรรหา  คัดเลือก  บรรจุแต่งตั้งบุคคล   ( Recuitment + Selection  and  Placement ) ถือว่าเป็นกระบวนการจัดหาบุคคลเข้ามาในองค์การ  ( Procurement )
ในยุคปัจจุบันเรามักได้ยินคนพูดถึงคำว่า  HRM   กับ  HRD  อยู่บ่อยครั้ง  ทำให้ดิฉันเกิดความสงสัยว่า  คำสองคำนี้หมายถึงอะไร  แตกต่างกันอย่างไร  มีความสำคัญอย่างไร   และเกี่ยวข้องอะไรกับเราบ้าง    จึงได้ลองศึกษาหาข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ  พอสรุปได้ดังนี้
คำว่า  HRM  ย่อมาจากคำว่า  Human  Resource  Management   หมายถึง  การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในสถานประกอบการ  เป็นเรื่องเกี่ยวกับการวางแผน  การกำหนดคุณลักษณะ  และคุณสมบัติของประชากร  เริ่มตั้งแต่เกิดจนตาย  หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ  องค์การต้องดูแลรักษา  ใช้งาน  และให้ประโยชน์แก่ทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย  คือก่อนเข้าทำงาน  และหลังพ้นจากงาน  เป็นภารกิจขององค์การนั่นเอง

หน้าที่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์  ( HRM )   ในสถานประกอบการ    มีดังนี้
                1.  กำหนดกลยุทธ์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์   ( HRM  Strategy )
                2.  วางแผนเกี่ยวกับกำลังคน หรือ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์   ( HR Plainning )
                3.  สรรหา  คัดเลือก  บรรจุแต่งตั้งบุคคล   ( Recuitment + Selection  and  Placement ) ถือว่าเป็นกระบวนการจัดหาบุคคลเข้ามาในองค์การ  ( Procurement )
                4.  การฝึกอบรมและการพัฒนา  ( Human  Resource  Training  and  Development )
                5.  ประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร  ( Performance  Appraisal )
                6.  จัดการบริหารค่าตอบแทน  สวัสดิการและผลประโยชน์  ( Compensation , Benefit and Service )
                7.  ดำเนินการเกี่ยวกับระเบียบวินัย  ( Discipline )
                8.  ดูแลด้านสุขภาพและความปลอดภัย  ( Safety  and  Health )
                9.  ส่งเสริมเรื่องแรงงานสัมพันธ์  ( Labour  Relation )
                10.  รับผิดชอบดูแลระบบข้อมูล  การตรวจสอบ  และการวิจัยทรัพยากรมนุษย์

                ส่วน  HRD  ย่อมาจากคำว่า    Human  Resource  Development     หมายถึง  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์   เป็นการเพิ่มพูนคุณสมบัติที่มีอยู่ในตัวมนุษย์  โดยใช้กลวิธีต่าง ๆ  เช่น  ฝึกอบรม   ฝึกปฏิบัติการ  ศึกษาดูงาน  ฯลฯ    ถ้าดูจากหน้าที่ของ  HRM  ดังข้อความข้างต้นแล้ว  จะพบว่า  HRD  อยู่ในข้อ     ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง หรือเรียกว่าเป็นเพียงส่วนย่อยของ  HRM  เท่านั้น
                4.  การฝึกอบรมและการพัฒนา  ( Human  Resource  Training  and  Development )
                5.  ประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร  ( Performance  Appraisal )
                6.  จัดการบริหารค่าตอบแทน  สวัสดิการและผลประโยชน์  ( Compensation , Benefit and Service )
                7.  ดำเนินการเกี่ยวกับระเบียบวินัย  ( Discipline )
                8.  ดูแลด้านสุขภาพและความปลอดภัย  ( Safety  and  Health )
                9.  ส่งเสริมเรื่องแรงงานสัมพันธ์  ( Labour  Relation )
                10.  รับผิดชอบดูแลระบบข้อมูล  การตรวจสอบ  และการวิจัยทรัพยากรมนุษย์

                ส่วน  HRD  ย่อมาจากคำว่า    Human  Resource  Development     หมายถึง  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์   เป็นการเพิ่มพูนคุณสมบัติที่มีอยู่ในตัวมนุษย์  โดยใช้กลวิธีต่าง ๆ  เช่น  ฝึกอบรม   ฝึกปฏิบัติการ  ศึกษาดูงาน  ฯลฯ    ถ้าดูจากหน้าที่ของ  HRM  ดังข้อความข้างต้นแล้ว  จะพบว่า  HRD  อยู่ในข้อ     ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง หรือเรียกว่าเป็นเพียงส่วนย่อยของ  HRM  เท่านั้น


แหล่งที่มา:  http://www.thailandindustry.com/guru/view.php?id=10112&section=9&rcount=Y

CRM



CRM ย่อมาจาก Customer Relationship Management คือ การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งหมายถึงวิธีการที่เราจะบริหารให้ลูกค้ามีความรู้สึกผูกพันธ์กับสินค้า ,บริการ หรือองค์กรของเรา เมื่อลูกค้าเค้ามีความผูกพันธ์ในทางที่ดีกับเรา แล้วก็ลูกค้านั้นไม่คิดที่จะเปลี่ยนใจไปจากสินค้าหรือบริการของเรา ทำให้เรามีฐานลูกค้าที่มั่้นคง และนำมาซึ่งความมั่นคงของบริษัท ดังนั้น การที่จะรู้ซึ้งถึงสถานะความผูกพันธ์กับลูกค้าได้นั้น เราก็ต้องอาศัยการสังเกตุพฤติกรรมของลูกค้า แล้วนำมาวิเคราะห์หาความเกี่ยวข้องระหว่าง พฤติกรรมของลูกค้ากับกลยุทธ์ทางการตลาดของเรากระบวนการทำงานของระบบ CRM มี 4 ขั้นตอนดังนี้
   1.Identify เก็บข้อมูลว่าลูกค้าของบริษัทเป็นใคร เช่น ชื่อลูกค้า ข้อมูลสำหรับติดต่อกับลูกค้า
   2.Differentiate วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าแต่ละคน และจัดแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มตามคุณค่าที่ลูกค้ามีต่อบริษัท
   3.Interact มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อเรียนรู้ความต้องการของลูกค้า และเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในระยะยาว
   4.Customize นำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีความเหมาะสมเฉพาะตัวกับลูกค้าแต่ละคน

CRM มีความสัมพันธ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการนำซอฟต์แวร์มาใช้ในการพัฒนาเพื่อดึงดูดลูกค้า สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า เช่น Web Site เป็นต้น CRM software  ช่วยในการจัดการฐานข้อมูลลูกค้า วิเคราะห์ข้อมูล และเป็นช่องทางในการติดต่อกับลูกค้า ซึ่ง CRM software มักแบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้
    1.Operational CRM เป็นซอฟท์แวร์ front office ที่ใช้ช่วยจัดการกระบวนการทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น sales, marketing หรือ service เช่น การจัดการข้อมูลติดต่อลูกค้า การเสนอราคา การบริหารฝ่ายขาย การเก็บข้อมูลพฤติกรรมลูกค้า ระบบบริการลูกค้า เป็นต้น
    2.Analytical CRM ระบบวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าที่รวบรวมได้จากส่วน Operational CRM หรือจากแหล่งอื่นๆ เพื่อแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มและค้นหากลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่บริษัทสามารถนำเสนอสินค้า หรือบริการเพิ่มเติมได้
    3.Collaborative CRM ระบบช่วยสนับสนุนในการติดต่อปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าผ่านทางช่องทางต่างๆ เช่น ติดต่อส่วนตัว จดหมาย แฟกซ์ โทรศัพท์ เว็บไซต์ 
E-Mail เป็นต้น รวมถึงช่วยจัดการทรัพยากรที่บริษัทมีคือพนักงาน กระบวนการทำงาน และฐานข้อมูล (Database ลูกค้า เพื่อนำไปให้บริการแก่ลูกค้าและช่วยรักษาฐานลูกค้าของบริษัทได้ดีขึ้น



แหล่งที่มา  :http://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/2072-crm-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html

SCM


การจัดการสายโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) (1/3)

การจัดการสายโซ่อุปทาน (Supply Chain Management)

กระบวนการ Supply Chain Management หรือ SCM เป็นกระบวนการของการบริหารทุกขั้นตอน นับตั้งแต่การนำเข้าวัตถุดิบสู่กระบวนการผลิต กระบวนการสั่งซื้อ จนกระทั่งส่งสินค้าถึงมือลูกค้าให้มีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมกับสร้างระบบให้เกิดการไหลเวียนของข้อมูลที่ทำให้เกิดกระบวนการทำงานของแต่ละหน่วยงานส่งผ่านไปทั่วทั้งองค์การ การไหลเวียนของข้อมูลยังรวมไปถึงลูกค้า และผู้จัดส่งวัตถุดิบด้วย (www.bangkokbiznews.com)
กระบวนการ Supply Chain Management มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้องค์การยกระดับความสามารถในการบริหาร เช่น การลดสินค้าคงคลัง การเพิ่มผลิตภาพ หรือการลดความสูญเปล่าในกระบวนการทำงาน ส่งเสริมความเติบโตของธุรกิจ เช่น การเพิ่มโอกาสในการออกสินค้าใหม่ให้เร็วขึ้น การเปิดตลาดใหม่ ๆ การสร้างความพอใจแก่ลูกค้ามากขึ้น ส่งเสริมความยั่งยืนของธุรกิจ เช่น การลดต้นทุนธุรกิจ การบริหารเงินทุนหมุนเวียน เป็นต้น

SCM คือ กระบวนการโดยรวมของการไหลของวัสดุ สินค้า ตลอดจนข้อมูล และธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านองค์การที่เป็นผู้ส่งมอบ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ไปจนถึงลูกค้าหรือผู้บริโภคโดยที่องค์การต่าง ๆ เหล่านี้มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจต่อกัน

ในการปรับตัวขององค์การเพื่อการจัดการห่วงโซ่อุปทานนั้น สิ่งที่สำคัญ คือ เพื่อให้องค์การมี ความสามารถในการบริหาร ความเติบโตของธุรกิจ และความยั่งยืนของธุรกิจ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

การดำเนินธุรกิจในยุคนี้ให้ประสบความสำเร็จ และมีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างแท้จริง องค์การไม่สามารถดำเนินการแต่เพียงฝ่ายเดียว หรือกระทำโดยลำพังได้ ดังนั้น การปรับมุมมองการดำเนินงานเข้าสู่แนวคิด SCM จึงควรมีความเข้าใจความหมายของ SCM อย่างครบถ้วนเพื่อที่จะสามารถพิจารณา และกำหนดกลยุทธ์ได้อย่างถูกต้อง การบริหารในปัจจุบันและอนาคตนั้นองค์การจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
การทำกำไรในปัจจุบันทำได้ยากขึ้น ในอนาคตองค์การอาจต้องมีการจัดการผลกำไรอย่างเจาะจงตามประเภทลูกค้า และสินค้า และมองหาโอกาสในการสร้างกำไรในอนาคตระยะยาว
ผู้นำองค์การในอนาคตจะเกี่ยวข้องกับการสร้างพันธมิตร ในอนาคตการพัฒนาองค์การจะเป็นไปในลักษณะของการสร้างเครือข่าย (Networking Organization)
การทำงานของบุคลากรจะเน้นการทำงานได้หลากหลาย ทำงานข้ามวัฒนธรรม และได้รับค่าตอบแทนตามผลงาน และให้ความสำคัญกับการเป็นเจ้าของร่วม
ช่องทางธุรกิจใหม่ ๆ กำลังเปลี่ยนแปลงและเปิดโอกาสทางธุรกิจ ช่องทางดั้งเดิมกำลังเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อรักษาสภาพทางการตลาด มีการกำหนดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และช่องทางใหม่มีการรวบรวมคนกลางและกำหนดการลงทุนธุรกิจใหม่
การมีช่องทางมากขึ้น กระแสโลกาภิวัตน์ การมีลูกค้าที่หลากหลาย จำนวนคู่แข่งที่เพิ่มขึ้น เหล่านี้ทำให้การบริหารองค์การทำได้ยากขึ้น ทำให้องค์การเข้าสู่การเป็นองค์การขยาย และเน้นการตอบสนองลูกค้าเป็นรายๆ
มีการใช้ระบบช่วยในการตัดสินใจและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce)
การประเมินผล และการนำทิศทางองค์การ มุ่งเน้นมูลค่าของหุ้นและมูลค่าเพิ่มของธุรกิจ
เน้นหนักสินค้าบริการเฉพาะตัว และให้ความสำคัญกับราคามากขึ้น ลูกค้ามีความคาดหวังต่อบริการมากขึ้น
คุณภาพถือเป็นสิ่งบังคับที่ต้องมีอยู่แล้วลูกค้าไม่ต้องการสินค้าหลากหลายแต่ต้องการสินค้าที่เหมาะกับตน องค์การจะต้องเน้นการทำตลาดเจาะจงโดยใช้แหล่งวัตถุดิบร่วมกัน รวมทั้งเน้นการผลิตสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะตัวมากขึ้น
การตลาดมุ่งเน้นลูกค้าแต่ละราย
การบริหารเน้นการสร้างพันธมิตรมากขึ้น เช่น การเป็นพันธมิตรกับคู่แข่งมากขึ้นทั้งในลักษณะเอกเทศและพหุภาคี (มานะ ชัยวงค์โรงจน์,2546:26-27)

กระบวนการทำงาน แผนงาน ตลอดจนข้อมูลของบริษัทนั้น ถือเป็นความลับและจำกัดขอบเขตการรับรู้อยู่แต่ในวงผู้เกี่ยวข้องภายในเท่านั้น แต่การที่แต่ละองค์กรจะสร้างกระบวนการเพื่อ Collaborate กันได้นั้น
จำเป็นต้องมีการใช้ข้อมูลร่วมกัน (Information Sharing) โดยในการสร้างปัจจัยที่สามารถผลักดันให้เกิดการทำงานร่วมกันนั้นจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลายประการ ได้แก่

1. ความไว้ใจซึ่งกันและกัน (Trust) อันนี้เป็นปัจจัยหลักและสำคัญมากที่สุด จำเป็นที่จะต้องสร้างขึ้นมา ในอดีตผู้ที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกันนั้นมักมีความไว้วางใจกันสูง ความไว้วางใจในอดีตนั้นมักเกิดในรูปของคุณภาพสินค้าและเครดิต
แต่ปัจจุบันจะอยู่ในรูปของการแลกเปลี่ยนความคิด แผนงาน ตลอดจนข้อมูลการค้าที่สำคัญ และมีความเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน ความเสียหายหรือต้นทุนที่เกิดจากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะส่งผลต่อคู่ค้าและผู้ที่อยู่ในห่วงโซ่รายอื่นๆด้วย
2. การร่วมใช้ข้อมูลชุดเดียวกัน (Information Sharing) หากคู่ค้ายินยอมให้ใช้ข้อมูลการค้าร่วมกันหรือเป็นข้อมูลชุดเดียวกันแล้ว จะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดทั้งในเรื่องของเวลา (Time) และต้นทุน (Costs) คือสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องของ Lead Time, Order Fulfillment
ขณะเดียวกันก็สามารถลดต้นทุนในเรื่อง Inventory ได้ นอกจากนี้ต้นทุนวัตถุดิบและสินค้าที่ผ่านมาในแต่ละขั้นตอนก็สามารถลดลงได้โดยอาศัยข้อมูลพยากรณ์ ที่คู่ค้านำมาใช้ร่วมกันเพื่อการวางแผนการผลิตและการจัดส่ง
3. คุณภาพของข้อมูลที่ใช้ร่วมกัน (Quality of Shared Information) คุณภาพของข้อมูล โดยทั่วไปหมายถึงความถูกต้อง (Accuracy) และความทันต่อเวลา (Timeliness) ข้อมูลนั้นจะไม่เกิดประโยชน์ใดๆเลย หากเป็นข้อมูลที่ขาดความถูกต้องแม่นยำและโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ
ต้องเป็นข้อมูลที่ทันสมัยและสามารถเรียกใช้ได้ทันเวลาตามต้องการ นอกจากความถูกต้องและทันเวลาแล้ว ยังเป็นเรื่องของประเภทและระดับของข้อมูลที่ใช้ หากต้องการปรับปรุงในเรื่องของ Inventory ข้อมูลสำคัญและเกี่ยวข้องคือ
การพยากรณ์ (Forecast) แผนการตลาดและการส่งเสริมการตลาด, ข้อมูลสินค้าล้าสมัย, ข้อมูลสินค้าที่จะแนะนำเข้าสู่ตลาด, ข้อมูลสินค้าและบริการของคู่แข่ง เป็นต้น โดยข้อมูลเหล่านี้จะต้องอยู่ในระดับที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้
4. เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร (Information and Communication Technologies)ปัจจัยทั้งสามข้อที่ได้กล่าวมา จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากปราศจากการนำเอาเรื่องของไอซีทีมาใช้ ความจริงเรื่องของ Collaboration มีการพูดถึงมานานแล้ว แต่องค์กรธุรกิจต้องใช้เวลาในการติดตั้งซอฟต์แวร์เพื่อให้พร้อมทั้งตนเองและคู่ค้า
ช่วงเวลาดังกล่าว อินเทอร์เน็ตถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ ทั้งระบบสื่อสารก็ยังมีจำกัดและมีราคาค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ทำให้เป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการพัฒนา ทว่าในปัจจุบัน การขยายตัวทั้งในส่วนของจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและ Bandwidth
ทำให้แนวโน้มอัตราค่าบริการอินเทอร์เน็ตลดลงและเป็นที่นิยมแพร่หลาย อินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นเสมือนเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมองค์กรต่างๆเข้าด้วยกัน ทำให้การสร้างกระบวนการ “Collaboration” สามารถพัฒนาให้เกิดขึ้น

การประยุกต์ใช้กลยุทธ์การบริหาร SCM
ในการบริหารกลยุทธ์นั้น ผู้บริหารหรือองค์การสามารถเลือกใช้กลยุทธ์ได้หลายวิธีทั้งนี้ควรพิจารณาความเหมาะสม และสภาพธุรกิจขององค์การ กลยุทธ์ของ SCM สามารถแบ่งประเด็นสำคัญ ๆ ได้ดังนี้
1. ความยืดหยุ่นในระบบ ผู้บริหารมีความมุ่งมั่นในการปรับปรุงระบบ การใช้พนักงานชั่วคราว การใช้อุปกรณ์ที่ทำงานได้หลากหลาย การจ้างหน่วยงานภายนอกทำงาน การปรับปรุงกระบวนการให้ลดรอบเวลา
2. องค์การควรมีการออกแบบระบบให้เหมาะสมโดยเน้นสินค้า ช่องทาง หรือตลาดให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า
3. มีการจัดแบ่งลูกค้าและสินค้า การปฏิบัติต่อลูกค้าแต่ละรายตามระดับประโยชน์ที่ได้รับจากลูกค้า การแยกประเภทลูกค้าอย่างเหมาะสม องค์การควรมีการมองภาพรวมทั้งโลก มีการกำหนดมาตรฐานของกระบวนการข้อมูล วัตถุดิบและปัจจัยพื้นฐาน การใช้ระบบงานร่วมกันทั่วโลก เช่น การใช้แหล่งผลิตร่วมกัน การใช้ชิ้นส่วนร่วมกัน เป็นต้น
4. การบริหารการพัฒนาสินค้า การบริหารต้นทุนเป้าหมายของสินค้า (Target Costing) การบริหารต้นทุนของสินค้าตลอดช่วงอายุ (Life Cycle Costing)
5. การผลิตสินค้า/บริการเฉพาะลูกค้า การสร้างความแตกต่างของสินค้า/บริการใกล้จุดส่งมอบที่สุดการผลักภาระให้ลูกค้าทำให้สินค้า/บริการเหมาะกับตนมากที่สุด การออกแบบให้สินค้า/บริการใช้วัสดุหรือชิ้นส่วนร่วมกัน การทำให้สินค้ามีความแตกต่างตามลูกค้า เกิดขึ้นที่โรงงาน โกดัง หรือจุดส่งมอบ
6. การใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสม การปรับระบบข้อมูลให้ส่งเสริม การลดต้นทุน การสร้างความยืดหยุ่น และความสามารถในการแข่งขัน อาทิ เทคนิค Activity - Based Costing การเชื่อมโยงระบบกับคู่ค้า การลดรอบเวลาในการจัดหาข้อมูล จนถึงการใช้ประโยชน์ การปรับปรุงคุณภาพของข้อมูลให้เน้นที่ลูกค้า
การใช้ข้อมูลลดปริมาณสินค้าคงคลังการสร้างสมดุลระหว่างความต้องการ และการตอบสนองโดยหลีกเลี่ยงการพยากรณ์ แต่ใช้ข้อมูลจริงของความต้องการในการวางแผน การใช้ระบบหน่วยชี้วัดที่ครบวงจรทั้งทางด้านต้นทุนการดำเนินงาน เวลา ผลกำไร และการบริการลูกค้า
7. การลดความสูญเสีย การใช้มาตรฐานข้อมูลหรือสัญลักษณ์ การลดความซับซ้อนของสินค้า กระบวนการผลิต การส่งมอบ การลดจำนวนผู้ส่งมอบ การบริหารความต้องการและการตอบสนองสินค้าให้เกิดการหมุนเวียนสินค้าคงคลังมากที่สุด
8. การสร้างพันธมิตร การใช้หน่วยงานทำงานแทนบางอย่าง การประสานงานระหว่างคู่ค้า ผู้ส่งมอบ ผู้ให้บริการ และลูกค้า การพัฒนาการจัดการในด้านนี้
9. การใช้ประโยชน์จากพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การพัฒนาเครือข่ายผู้ส่งมอบ เพื่อ
ร่วมจัดทำแผนการผลิตและส่งมอบอย่างทันเวลา
10.การพัฒนาบุคลากร การมีมุมองหลากหลายบนพื้นฐานของวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน การทำงานหลากหลายเพื่อสร้างความเข้าใจในงานทุกระบบ การมีความรู้ถึงระดับภาคปฏิบัติ การพัฒนาให้มีความสามารถหลากหลาย ความสามารถในการแก้ไขปัญหา ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ








แหล่งที่มา:http://prathip511341054.blogspot.com/2009/11/scm.html